เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
ความหมายแห่งภาวนา 4 ประการนี้ เป็นอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดุจยาน ทำให้
เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน อธิบายว่า ภิกษุนั้นหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
ความชำนาญ มีกำลัง1 ถึงความแกล้วกล้าในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่
เนื่องด้วยความคำนึงถึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดุจยาน
คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า จิตตั้งมั่นดีในวัตถุใด ๆ สติก็ปรากฏดีใน
วัตถุนั้น ๆ หรือสติปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตก็ตั้งมั่นดีในวัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง
คำว่า น้อมไป อธิบายว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุนไปตาม (คุมอยู่)
ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่า สติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป
คำว่า อบรมแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่า
ถือเอารอบ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะบาปอกุศลธรรมได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้ว
คำว่า ปรารภเสมอดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนา 4 อย่าง ภิกษุปรารภเสมอ
ดีแล้ว คือ
1. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
3. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควร
แก่ธรรมนั้นเข้าไป

เชิงอรรถ :
1 มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังคือสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. 2/160/93)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :250 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
4. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่
ธรรมนั้น
[161] คำว่า เสมอดี อธิบายว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี
ความเสมอ เป็นอย่างไร
คือ กุศลธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้น เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้
นี้ชื่อว่าความเสมอ
ความเสมอดี เป็นอย่างไร
คือ ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้ชื่อว่าความเสมอดี
ก็ความเสมอและความเสมอดี ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน
สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า อบรมแล้วตามลำดับ อธิบายว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น
ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ
ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
สละคืนหายใจออก ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อานาปานสติ
อันมีวัตถุ 16 แม้ทั้งปวงอาศัยกัน ภิกษุนั้นอบรมแล้วและอบรมแล้วตามลำดับ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้วตามลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :251 }