เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
ความหมายแห่งภาวนา 4 ประการนี้ เป็นอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดุจยาน ทำให้
เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน อธิบายว่า ภิกษุนั้นหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
ความชำนาญ มีกำลัง1 ถึงความแกล้วกล้าในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่
เนื่องด้วยความคำนึงถึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดุจยาน
คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า จิตตั้งมั่นดีในวัตถุใด ๆ สติก็ปรากฏดีใน
วัตถุนั้น ๆ หรือสติปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตก็ตั้งมั่นดีในวัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง
คำว่า น้อมไป อธิบายว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุนไปตาม (คุมอยู่)
ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่า สติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป
คำว่า อบรมแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่า
ถือเอารอบ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะบาปอกุศลธรรมได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้ว
คำว่า ปรารภเสมอดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนา 4 อย่าง ภิกษุปรารภเสมอ
ดีแล้ว คือ
1. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
3. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควร
แก่ธรรมนั้นเข้าไป

เชิงอรรถ :
1 มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังคือสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. 2/160/93)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :250 }