เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
ผลวิเศษ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็น
ผลวิเศษ
ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และ
ธรรม 3 ประการนี้จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ
ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
[160] บุคคลใด ภาวนาอานาปานสติดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว
อบรมแล้วตามลำดับ ตามสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
บุคคลนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น
คำว่า อานะ อธิบายว่า ลมหายใจเข้า ไม่ใช่ลมหายใจออก
คำว่า อปานะ อธิบายว่า ลมหายใจออก ไม่ใช่ลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้ง
อยู่ที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ผู้ใดหายใจเข้า สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น ผู้ใดหายใจออก
สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น
คำว่า บริบูรณ์แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่าถือเอา
รอบ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบแล้ว
คำว่า ภาวนา...ดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
3. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
4. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :249 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
ความหมายแห่งภาวนา 4 ประการนี้ เป็นอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดุจยาน ทำให้
เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน อธิบายว่า ภิกษุนั้นหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
ความชำนาญ มีกำลัง1 ถึงความแกล้วกล้าในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่
เนื่องด้วยความคำนึงถึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดุจยาน
คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า จิตตั้งมั่นดีในวัตถุใด ๆ สติก็ปรากฏดีใน
วัตถุนั้น ๆ หรือสติปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตก็ตั้งมั่นดีในวัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง
คำว่า น้อมไป อธิบายว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุนไปตาม (คุมอยู่)
ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่า สติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป
คำว่า อบรมแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่า
ถือเอารอบ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะบาปอกุศลธรรมได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้ว
คำว่า ปรารภเสมอดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนา 4 อย่าง ภิกษุปรารภเสมอ
ดีแล้ว คือ
1. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
3. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควร
แก่ธรรมนั้นเข้าไป

เชิงอรรถ :
1 มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังคือสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. 2/160/93)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :250 }