เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
[159] นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะไม่รู้ธรรม 3 ประการ จึงไม่ได้ภาวนา
นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะรู้ธรรม 3 ประการ จึงได้ภาวนา ฉะนี้แล
ธรรม 3 ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ
จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ เป็น
อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ บุรุษใช้เลื่อยตัดต้นไม้นั้น
ตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือ
ที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ นิมิต
ที่ผูกจิตไว้ เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ ลมหายใจเข้าหายใจออก
เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ไม่ได้ใส่ใจถึงลม
หายใจเข้าหายใจออกที่เข้ามาหรือออกไป ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่เข้ามาหรือ
ออกไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
เหมือนบุรุษนั่งตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป
ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและ
บรรลุผลวิเศษ ฉะนั้น
ประธาน เป็นอย่างไร
คือ กายและจิตของภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน
ประโยค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมละอุปกิเลส1ได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค

เชิงอรรถ :
1 อุปกิเลส หมายถึงนิวรณ์ (ขุ.ป.อ. 2/159/92)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :248 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
ผลวิเศษ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็น
ผลวิเศษ
ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และ
ธรรม 3 ประการนี้จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ
ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
[160] บุคคลใด ภาวนาอานาปานสติดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว
อบรมแล้วตามลำดับ ตามสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
บุคคลนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น
คำว่า อานะ อธิบายว่า ลมหายใจเข้า ไม่ใช่ลมหายใจออก
คำว่า อปานะ อธิบายว่า ลมหายใจออก ไม่ใช่ลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้ง
อยู่ที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ผู้ใดหายใจเข้า สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น ผู้ใดหายใจออก
สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น
คำว่า บริบูรณ์แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่าถือเอา
รอบ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบแล้ว
คำว่า ภาวนา...ดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
3. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
4. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :249 }