เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งขยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค อะไรเป็นเป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค
อะไรเป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค ความเพิ่มพูน
อุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตต-
มรรค ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
1. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
2. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
3. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย 1 จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด 1 จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว 1 ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :246 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ 3 ประการนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อม
ด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
1. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
2. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
3. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรคเพ่งเฉยจิตที่หมดจด 1
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ 1 เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว 1 เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่
1. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตตมรรค
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
2. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
3. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป
4. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ 4 ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตที่ถึงความเป็นไป 3 ประการ มีความงาม 3 ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :247 }