เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป 3 ประการ มีความงาม 3 ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลางแห่ง
อากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลาง
แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป 3 ประการ มีความงาม 3 ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิจจานุปัสสนา อะไรเป็นท่ามกลางแห่งอนิจจานุปัสสนา
อะไรเป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป 3 ประการ มีความงาม 3 ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การ
อธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุกขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิราคานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :245 }