เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
4. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
5. จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน พระโยคาวจรยกจิตนั้นไว้แล้ว
ละความเกียจคร้าน
6. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
7. จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้น
แล้วละอุทธัจจะ
8. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
9. จิตน้อมรับ ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้ว
ละความกำหนัด
10. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
11. จิตผละออก ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้วละ
พยาบาท
12. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
13. จิตบริสุทธิ์ผุดผ่องถึงสภาวะเดียว ด้วยฐานะ 6 ประการ1นี้
ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่ง
สมถนิมิต เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม เป็นสภาวะเดียว
ความปรากฏแห่งความดับ เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งการบริจาคทานของ
บุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งสมถนิมิตของ
บุคคลผู้ประกอบในอธิจิตทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความ
เสื่อมของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งความ
ดับของพระอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว

เชิงอรรถ :
1 ฐานะ 6 ประการ หมายถึงข้อที่ 1 กับข้อที่ 2 จัดเป็นฐานะที่หนึ่ง, ข้อที่ 3 กับข้อที่ 4 จัดเป็นฐานะที่สอง,
ข้อที่ 5 กับข้อที่ 6 จัดเป็นฐานะที่สาม, ข้อที่ 7 กับข้อที่ 8 จัดเป็นฐานะที่สี่, ข้อที่ 9 กับข้อที่ 10 จัดเป็น
ฐานะที่ห้า, ข้อที่ 11 กับข้อที่ 12 จัดเป็นฐานะที่หก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :242 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 4. โวทานญาณนิทเทส
จิตที่ถึงสภาวะเดียวด้วยฐานะ 4 นี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาหมดจด
ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน อะไร
เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ความเพิ่มพูน
อุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
1. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
2. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
3. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย 1 จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด 1 จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว 1 ความ
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌานมีลักษณะ 3 ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้นและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
1. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
2. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
3. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌานเพ่งเฉยจิตที่หมดจด 1
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ 1 เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว 1 ความเพิ่ม
พูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ 3 ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :243 }