เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 3. อุปกิเลสญาณนิทเทส
จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่หดหู่ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่น้อมรับตกไปข้างฝ่ายกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่ผละออกตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์
จิตที่หวังอนาคตารมณ์
จิตที่หดหู่ จิตที่มีความเพียรกล้า
จิตที่น้อมรับ จิตที่ผละออก ย่อมไม่ตั้งมั่น
อุปกิเลส 6 ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง
ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล
[157] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน
ในภายใน
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้ง
ซ่านในภายนอก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :239 }