เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 3. อุปกิเลสญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
อุปกิเลส 6 ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร
ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น
พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์
จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล

ตติยฉักกะ
หมวดหก ที่ 3
[156] จิตที่แล่นไปในอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
ต่อสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :238 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 3. อุปกิเลสญาณนิทเทส
จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่หดหู่ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่น้อมรับตกไปข้างฝ่ายกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่ผละออกตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์
จิตที่หวังอนาคตารมณ์
จิตที่หดหู่ จิตที่มีความเพียรกล้า
จิตที่น้อมรับ จิตที่ผละออก ย่อมไม่ตั้งมั่น
อุปกิเลส 6 ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง
ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล
[157] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน
ในภายใน
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้ง
ซ่านในภายนอก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :239 }