เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 15-16. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นภูตะ1โดยความเป็นภูตะ ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุย่อมเห็น
อย่างนี้
ถ้าภิกษุใดเห็นภูตะโดยความเป็นภูตะ
และก้าวล่วงภูตะได้แล้ว
ย่อมน้อมไปในธรรมตามความเป็นจริง
เพราะความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา
ภิกษุนั้นกำหนดรู้ภูตะได้แล้ว
ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะไม่มีภูตะ ดังนี้
[150] บุคคล 3 จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล 3 จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ 3 จำพวก ไหนบ้าง คือ
1. เดียรถีย์
2. สาวกของเดียรถีย์
3. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคล 3 จำพวกนี้มีทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ 3 จำพวก ไหนบ้าง คือ
1. พระตถาคต
2. สาวกของพระตถาคต
3. บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ 3 จำพวกนี้

เชิงอรรถ :
1 ภูตะ ในที่นี้หมายถึงทุกข์ (ขุ.ป.อ. 2/149/74)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :228 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 15-16. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
นรชนใดเป็นคนมักโกรธ
ผูกโกรธ มีความลบหลู่อันชั่วร้าย
มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว
นรชนใดไม่เป็นคนมักโกรธ
ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้
ทิฏฐิวิบัติ 3 ประการ ทิฏฐิสมบัติ 3 ประการ
ทิฏฐิวิบัติ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นของเรา”
2. ทิฏฐิวิบัติว่า “เราเป็นนั่น”
3. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิวิบัติ 3 ประการนี้
ทิฏฐิสมบัติ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา”
2. ทิฏฐิสมบัติว่า “เราไม่เป็นนั่น”
3. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ทิฏฐิสมบัติ 3 ประการนี้
การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน
การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :229 }