เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 15-16. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นภว-
ทิฏฐิ 15 เป็นวิภวทิฏฐิ 5
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 8 อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี
เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
ทิฏฐิทั้งหมด เป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นสัญโญชนิกาทิฏฐิ เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ชนเหล่าใดกล่าวโดยการคาดคะเน
ยึดถือทิฏฐิทั้ง 2 คือ ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิ
ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น
สัตว์โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ในนิโรธที่เป็นสุขใด
ในนิโรธนั้นไม่มีญาณ เพราะมีสัญญาวิปริต
ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้
[149] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ 2 อย่างนี้กลุ้มรุมแล้ว
พวกหนึ่งติดอยู่ พวกหนึ่งแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและ
มนุษย์เหล่านั้นย่อมแล่นเลยไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดง
เพื่อความดับภพ ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่อย่างนี้
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง อึดอัด ระอา รังเกียจภพ ยินดีปรารถนาวิภพว่า
“ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใด อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศไป เมื่อนั้น
อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก” เพราะฉะนั้น ความไม่เกิดอีกนี้ละเอียด
ประณีตตามที่มี ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไปอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :227 }