เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 9. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส

อันตานันติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด) มี 4 ลัทธิ
อมราวิกเขปิกวาทะ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) มี 4 ลัทธิ
อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุ-
ปัจจัย) มี 2 ลัทธิ

ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่างนี้
ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทสที่ 8 จบ

9. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอปรันตานุทิฏฐิ
[142] อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 44 อย่าง อะไรบ้าง

คือ สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญา)
มี 16 ลัทธิ
อสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาไม่มีสัญญา)
มี 8 ลัทธิ
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) มี 8 ลัทธิ
อุจเฉทวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ)
มี 7 ลัทธิ
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีสภาวะบางอย่างเป็นนิพพานใน
ปัจจุบัน) มี 5 ลัทธิ

อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 44 อย่างนี้
อปรันตานุทิฏฐินิทเทสที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :221 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 10-12. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
10-12. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
แสดงสัญโญชนิกาทิทิฏฐิ
[143] สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. การตกอยู่ในทิฏฐิ 2. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
ฯลฯ1
17. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ 18. ความถือมั่นคือทิฏฐิ
สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่างนี้
[144] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ 1 มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะเป็นเรา” ฯลฯ “ชิวหาเป็นเรา” ฯลฯ “กาย
เป็นเรา” ฯลฯ “มโนเป็นเรา” ฯลฯ “รูปเป็นเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์เป็นเรา” ฯลฯ
“จักขุวิญญาณเป็นเรา” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ 18 มานวินิพันธา-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่างนี้
[145] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18
อย่าง เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มข้อ 125 หน้า 193 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :222 }