เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ...
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ ... สภาวะที่เห็น
แห่งปัญญินทรีย์ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านแห่งวิริยพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความ
ประมาทแห่งสติพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะแห่งสมาธิพละ ...
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาแห่งปัญญาพละควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึก
ได้) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เลือกเฟ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... สภาวะที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... สภาวะที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรึกตรองแห่งสัมมา-
สังกัปปะ (ดำริชอบ) ... สภาวะที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ... สภาวะที่
เป็นสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ... สภาวะที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ... สภาวะ
ที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ (ตั้งจิต
มั่นชอบ) ควรรู้ยิ่ง
[13] สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ...
สภาวะที่นำออกแห่งโพชฌงค์ ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สติปัฏฐาน ... สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ... สภาวะที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท ...
สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ... สภาวะที่ระงับแห่งมรรค ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง
แห่งผลควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :22 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตกควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ... สภาวะที่
แผ่ไปแห่งปีติ ... สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์
เดียว) แห่งจิต ... สภาวะที่นึก ... สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ชัด ... สภาวะที่จำได้ ...
สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แห่งอภิญญาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ... สภาวะที่
สละแห่งปหานะ ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ... สภาวะที่ถูกต้อง
แห่งสัจฉิกิริยา ... สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ... สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย ... สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ... สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่ง
สังขตธรรม ... สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมควรรู้ยิ่ง
[14] สภาวะแห่งจิตควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ... สภาวะที่
ออกแห่งจิต ... สภาวะที่หลีกไปแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
ปัจจัยแห่งจิต ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นภูมิแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์แห่งจิต ... สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ... สภาวะที่เที่ยวไปแห่งจิต ... สภาวะ
ที่ไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำออกแห่งจิต ... สภาวะที่สลัด
ออกแห่งจิตควรรู้ยิ่ง
[15] สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่แล่นไปในจิต
ที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้ง
มั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้
เป็นดุจญาณในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่
อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :23 }