เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 7. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ 5 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5-40)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5-45)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :219 }