เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 7. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสกว้าง เขามีความเห็นอย่าง
นี้ว่า “โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็น
อัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิก-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลือง ฯลฯ สีแดง ฯลฯ สีขาว ฯลฯ บุคคล
บางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลก
นี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็นอัตตา
และเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5-20)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ 5 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด สรีระ
ก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่
เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด
สรีระก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5-25)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :217 }