เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 7. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
“ชีวะ1กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” ฯลฯ “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” ฯลฯ “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ
เท่าไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้นถือ
เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่
ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิ
ว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สัญญา
เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณ เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้น
ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ 5 อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
1 ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (soul) (อภิ.ปญฺจ.อ. 1/1/129)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :215 }