เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 5. สัสสตทิฏฐินิทเทส
5. สัสสตทิฏฐินิทเทส
แสดงสัสสตทิฏฐิ
[138] สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 15
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอัตตามี
รูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตามีเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสังขารบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของ
เรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้
นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้
มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ โดยความเป็นอัตตา นี้เป็นสัสสตทิฏฐิที่มี
สักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 1 สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ
สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 15 อย่างนี้

สัสสตทิฏฐินิทเทสที่ 5 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :213 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 7. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
6. อุจเฉททิฏฐินิทเทส
แสดงอุจเฉททิฏฐิ
[139] อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตา
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมัน
กำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 1
อุจเฉททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ ฯลฯ
อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้
อุจเฉททิฏฐินิทเทสที่ 6 จบ

7. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
แสดงอันตัคคาหิกทิฏฐิ
[140] อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 50 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ฯลฯ “โลกมีที่สุด” ฯลฯ “โลกไม่มีที่สุด” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :214 }