เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 3. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
3. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
แสดงมิจฉาทิฏฐิ
[136] มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 10 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด เป็นอาการที่ 1 มิจฉาทิฏฐิเป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล” ฯลฯ “การเซ่นสรวง ไม่มีผล” ฯลฯ “ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดี
ทำชั่วไม่มี” ฯลฯ “โลกนี้ไม่มี” ฯลฯ “โลกหน้าไม่มี” ฯลฯ “มารดาไม่มี” ฯลฯ
“บิดาไม่มี” ฯลฯ “โอปปาติกสัตว์1ไม่มี” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “สมณะและ
พราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามไม่มีในโลก” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิดเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ 10 มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมมีคติเป็น 2 ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 10 อย่างนี้

มิจฉาทิฏฐินิทเทสที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 โอปปาติกสัตว์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซาก
ศพไว้ เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. 171/149)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :211 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 4. สักกายทิฏฐินิทเทส
4. สักกายทิฏฐินิทเทส
แสดงสักกายทิฏฐิ
[137] สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตา
บ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีป
น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พิจารณาเห็นโอทาตกสิณ โดยความเป็นอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ
นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 1 สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
อย่างนี้ ฯลฯ
สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่างนี้

สักกายทิฏฐินิทเทสที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :212 }