เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 2. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณเช่นนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นว่า
“นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่ากลิ่น
หอมนี้ มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบาง
คนในโลกนี้ก็ฉันนั้นหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุ
ก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 3 อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาอย่างนี้ (3-19)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่
ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึง
พูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่ว่าแก้วมณีนี้มีอยู่ในในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้ มีอยู่ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 4 ฯลฯ อัตตา-
นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณอย่างนี้
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่างนี้ (4-20)

อัตตานุทิฏฐินิทเทสที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :210 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 3. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
3. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
แสดงมิจฉาทิฏฐิ
[136] มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 10 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด เป็นอาการที่ 1 มิจฉาทิฏฐิเป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล” ฯลฯ “การเซ่นสรวง ไม่มีผล” ฯลฯ “ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดี
ทำชั่วไม่มี” ฯลฯ “โลกนี้ไม่มี” ฯลฯ “โลกหน้าไม่มี” ฯลฯ “มารดาไม่มี” ฯลฯ
“บิดาไม่มี” ฯลฯ “โอปปาติกสัตว์1ไม่มี” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “สมณะและ
พราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามไม่มีในโลก” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิดเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ 10 มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมมีคติเป็น 2 ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ 10 อย่างนี้

มิจฉาทิฏฐินิทเทสที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 โอปปาติกสัตว์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซาก
ศพไว้ เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. 171/149)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :211 }