เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
นิพพาน” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความเกิดเป็น
สังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน”
... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความตายเป็นสังขาร
ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็น
นิพพาน” ... “ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ปฐมภาณวาร จบ

[11] สภาวะที่ควรกำหนดควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นบริวาร ... สภาวะที่เต็มรอบ
... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ... สภาวะที่ประคองไว้ ...
สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ... สภาวะที่ไม่ขุ่นมัว ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ...
สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์ ... สภาวะที่เป็นโคจร ... สภาวะที่ละ ... สภาวะที่สละ ... สภาวะที่ออก ...
สภาวะที่หลีกไป ... สภาวะที่ละเอียด ... สภาวะที่ประณีต ... สภาวะที่หลุดพ้น ...
สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ... สภาวะเครื่องข้าม ... สภาวะที่ไม่มีนิมิต ... สภาวะอันไม่มีที่ตั้ง
... สภาวะที่ว่าง ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ... สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกัน ...
สภาวะที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่นำออก ... สภาวะที่เป็นเหตุ ... สภาวะที่เห็น ...
สภาวะที่เป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง
[12] สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่ง
วิปัสสนา ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ... สภาวะที่ไม่
ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่สมาทานแห่งสิกขา ... สภาวะที่เป็น
โคจรแห่งอารมณ์ ... สภาวะที่ประคองจิตซึ่งย่อท้อ ... สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ...
สภาวะที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและความฟุ้งซ่านทั้ง 2 ประการ ...
สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ... สภาวะที่รู้แจ้งอริยมรรคอันยอดเยี่ยม ... สภาวะที่ตรัสรู้
สัจจะ ... สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :21 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ...
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ ... สภาวะที่เห็น
แห่งปัญญินทรีย์ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านแห่งวิริยพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความ
ประมาทแห่งสติพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะแห่งสมาธิพละ ...
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาแห่งปัญญาพละควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึก
ได้) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เลือกเฟ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... สภาวะที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... สภาวะที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรึกตรองแห่งสัมมา-
สังกัปปะ (ดำริชอบ) ... สภาวะที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ... สภาวะที่
เป็นสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ... สภาวะที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ... สภาวะ
ที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ (ตั้งจิต
มั่นชอบ) ควรรู้ยิ่ง
[13] สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ...
สภาวะที่นำออกแห่งโพชฌงค์ ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สติปัฏฐาน ... สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ... สภาวะที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท ...
สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ... สภาวะที่ระงับแห่งมรรค ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง
แห่งผลควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :22 }