เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 2. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้
เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 1 อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมมีคติเป็น 2 ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นอาโปกสิณ ... เตโชกสิณ ... วาโยกสิณ ...
นีลกสิณ ... ปีตกสิณ ... โลหิตกสิณ ... พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นอัตตา
คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “โอทาตกสิณอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสอง ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 1 อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (1)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง
พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 2 อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตา
มีรูปอย่างนี้ (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :201 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 2. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษ
พึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่น
หอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอม
ในดอกไม้นั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปใน
อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตา-
นุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 3 อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตาอย่างนี้ (3)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในรูป แก้วมณีที่ใส่ไว้
ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง
ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
“นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
ในรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 4
อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ (4)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :202 }