เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 1. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็น
ไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความ
ตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป
เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ
เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ
18 ประการนี้
สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่
สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้ เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
1. กามราคสังโยชน์
2. ปฏิฆสังโยชน์
3. มานสังโยชน์
4. วิจิกิจฉาสังโยชน์
5. ภวราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :199 }