เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 35 อย่าง
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 10 อย่าง
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง
สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 15 อย่าง
อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 50 อย่าง
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 44 อย่าง
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 8 อย่าง
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 19 อย่าง
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 19 อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :195 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 1. อัสสาททิฏฐินิทเทส
1. อัสสาททิฏฐินิทเทส
แสดงอัสสาททิฏฐิ
[128] อัสสาททิฏฐิ มีความเห็นผิดด้วยอาการ 35 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะ (คุณ) แห่งรูป” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้ เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และมโนกรรม
ที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ
และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :196 }