เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
[126] ทิฏฐิ 16 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นที่เนื่องด้วยคุณ)
2. อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา)
3. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
4. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
5. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ1
6. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ
7. อันตัคคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นอันถือเอาที่สุด)
8. ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอดีต)
9. อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอนาคต)
10. สัญโญชนิกาทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเครื่องผูกสัตว์)
11. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “เป็นเรา”
12. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “ของเรา”
13. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ)
14. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ)
15. ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกมีอยู่)
16. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกไม่มีอยู่)
[127] ความยึดมั่นทิฏฐิ 300 ประการ(โดยประมาณ)
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัสสตทิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อุจเฉททิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร

เชิงอรรถ :
1 มีสักกายะเป็นวัตถุ หมายถึงมีขันธ์ 5 เป็นที่อาศัย (ขุ.ป.อ. 2/126/53)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :194 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 35 อย่าง
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 10 อย่าง
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง
สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 15 อย่าง
อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 50 อย่าง
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 44 อย่าง
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 18 อย่าง
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 20 อย่าง
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 8 อย่าง
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 19 อย่าง
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ 19 อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :195 }