เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
ผัสสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้ผัสสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
สัญญาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้สัญญาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
วิตกที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้วิตกก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อโยนิโสมนสิการที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อโยนิโสมนสิการก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปาปมิตรที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปาปมิตรก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปรโตโฆสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปรโตโฆสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
เหล่านี้ คือฐานแห่งทิฏฐิ 8 ประการ
[125] ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ 18 ประการ อะไรบ้าง ทิฏฐิคือ

1. การตกอยู่ในทิฏฐิ 2. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
3. ความกันดารคือทิฏฐิ 4. เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
5. ความดิ้นรนคือทิฏฐิ 6. สังโยชน์คือทิฏฐิ
7. ลูกศรคือทิฏฐิ 8. สมภพคือทิฏฐิ1
9. เครื่องกังวลคือทิฏฐิ 10. เครื่องผูกคือทิฏฐิ
11. เหวคือทิฏฐิ 12. อนุสัยคือทิฏฐิ
13. เหตุให้เดือดร้อนคือทิฏฐิ 14. เหตุให้เร่าร้อนคือทิฏฐิ
15. เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ 16. ความยึดถือคือทิฏฐิ
17. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ 18. ความถือมั่นคือทิฏฐิ

เหล่านี้ คือปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ 18 ประการ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า สมภพคือทิฏฐิ คำบาลีคือ ทิฏฺฐิสมฺภโว ในอรรถกถา (ขุ.ป. 2/125/52) ใช้ ทิฏฺฐิสมฺพาโธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :193 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
[126] ทิฏฐิ 16 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นที่เนื่องด้วยคุณ)
2. อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา)
3. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
4. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
5. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ1
6. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ
7. อันตัคคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นอันถือเอาที่สุด)
8. ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอดีต)
9. อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอนาคต)
10. สัญโญชนิกาทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเครื่องผูกสัตว์)
11. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “เป็นเรา”
12. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “ของเรา”
13. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ)
14. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ)
15. ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกมีอยู่)
16. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกไม่มีอยู่)
[127] ความยึดมั่นทิฏฐิ 300 ประการ(โดยประมาณ)
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัสสตทิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อุจเฉททิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร

เชิงอรรถ :
1 มีสักกายะเป็นวัตถุ หมายถึงมีขันธ์ 5 เป็นที่อาศัย (ขุ.ป.อ. 2/126/53)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :194 }