เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
ผัสสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้ผัสสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
สัญญาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้สัญญาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
วิตกที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้วิตกก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อโยนิโสมนสิการที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อโยนิโสมนสิการก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปาปมิตรที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปาปมิตรก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปรโตโฆสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปรโตโฆสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
เหล่านี้ คือฐานแห่งทิฏฐิ 8 ประการ
[125] ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ 18 ประการ อะไรบ้าง ทิฏฐิคือ

1. การตกอยู่ในทิฏฐิ 2. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
3. ความกันดารคือทิฏฐิ 4. เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
5. ความดิ้นรนคือทิฏฐิ 6. สังโยชน์คือทิฏฐิ
7. ลูกศรคือทิฏฐิ 8. สมภพคือทิฏฐิ1
9. เครื่องกังวลคือทิฏฐิ 10. เครื่องผูกคือทิฏฐิ
11. เหวคือทิฏฐิ 12. อนุสัยคือทิฏฐิ
13. เหตุให้เดือดร้อนคือทิฏฐิ 14. เหตุให้เร่าร้อนคือทิฏฐิ
15. เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ 16. ความยึดถือคือทิฏฐิ
17. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ 18. ความถือมั่นคือทิฏฐิ

เหล่านี้ คือปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ 18 ประการ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า สมภพคือทิฏฐิ คำบาลีคือ ทิฏฺฐิสมฺภโว ในอรรถกถา (ขุ.ป. 2/125/52) ใช้ ทิฏฺฐิสมฺพาโธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :193 }