เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เมตตา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอวิชชาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ นามรูป ฯลฯ
สฬายตนะ ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ตัณหา ฯลฯ อุปาทาน ฯลฯ ภพ ฯลฯ
ชาติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมีดังว่ามานี้
[124] ฐานแห่งทิฏฐิ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ขันธ์ทั้งหลายเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
2. อวิชชาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
3. ผัสสะเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
4. สัญญาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
5. วิตกเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
6. อโยนิโสมนสิการเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
7. ปาปมิตรเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
8. ปรโตโฆสะ1เป็นฐานแห่งทิฏฐิ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อวิชชาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อวิชชาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ปรโตโฆสะ หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. 2/127/66)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :192 }