เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความเป็นไป
เป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ... “นิมิตเป็นภัย อนิมิตปลอดภัย” ... “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ...
“ปฏิสนธิเป็นภัย ความไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “คติเป็นภัย อคติปลอดภัย” ...
“ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย ความไม่
อุบัติปลอดภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความแก่เป็นภัย
ความไม่แก่ปลอดภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความ
ตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศก
ปลอดภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความ
คับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส1” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “นิมิต
เป็นอามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส” ... “ความ
เกิดเป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส” ... “ความ
ตายเป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส”...
“อนิมิตไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาไม่เป็นอามิส” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ... “อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่บังเกิดไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความ
ไม่แก่ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่ตายไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่เศร้าโศกไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความ
เป็นไปเป็นอามิส ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ... “นิมิตเป็นอามิส อนิมิตไม่เป็น

เชิงอรรถ :
1 เป็นอามิส ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ไม่พ้นไปจากการเกี่ยวข้องอยู่ในวัฏฏะและโลก (ขุ.ป.อ.1/10/103)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :19 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
อามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาไม่เป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส ความไม่บังเกิดไม่
เป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความเกิด
เป็นอามิส ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส ความไม่แก่ไม่เป็น
อามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความตายเป็น
อามิส ความไม่ตายไม่เป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส ความไม่เศร้าโศก
ไม่เป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “นิมิต
เป็นสังขาร” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร” ...
“คติเป็นสังขาร” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร” ...
“ความเกิดเป็นสังขาร” ... “ความแก่เป็นสังขาร” ... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร” ...
“ความตายเป็นสังขาร” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร” ... “ความรำพันเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ...
“อนิมิตเป็นนิพพาน” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ... “อคติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่บังเกิดเป็น
นิพพาน” ... “ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความ
ไม่แก่เป็นนิพพาน” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน” ... “ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความ
เป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ... “นิมิตเป็นสังขาร อนิมิตเป็น
นิพพาน” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาเป็นนิพพาน” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ...
“คติเป็นสังขาร อคติเป็นนิพพาน” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :20 }