เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
2. ทิฏฐิกถา
ว่าด้วยทิฏฐิ
[122] อะไรชื่อว่าทิฏฐิ ฐาน1แห่งทิฏฐิ มีเท่าไร ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ทิฏฐิมีเท่าไร ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร ความถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ถาม: ทิฏฐิคืออะไร
ตอบ: ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ถาม: ฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ฐานแห่งทิฏฐิมี 8 ประการ
ถาม: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมี 18 ประการ
ถาม: ทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ทิฏฐิมี 16 ประการ
ถาม: ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ความยึดมั่นทิฏฐิมี 300 ประการ(โดยประมาณ)
ถาม: เครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ตอบ: โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิ
[123] ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

เชิงอรรถ :
1 ฐาน ในที่นี้หมายถึงเหตุ (ขุ.ป.อ. 1/112/47)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :188 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธรรมารมณ์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญญาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา
ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมสัญญาว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ
รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมม-
สัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :189 }