เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณ
ในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในมหากรุณาสมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว
ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วย
พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่
มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ1

สัพพัญญุตญาณนิทเทสที่ 72-73 จบ
ญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม. (แปล) 29/156/431, ขุ.จู. (แปล) 30/85/305

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :187 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา
2. ทิฏฐิกถา
ว่าด้วยทิฏฐิ
[122] อะไรชื่อว่าทิฏฐิ ฐาน1แห่งทิฏฐิ มีเท่าไร ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ทิฏฐิมีเท่าไร ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร ความถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ถาม: ทิฏฐิคืออะไร
ตอบ: ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ถาม: ฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ฐานแห่งทิฏฐิมี 8 ประการ
ถาม: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมี 18 ประการ
ถาม: ทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ทิฏฐิมี 16 ประการ
ถาม: ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ความยึดมั่นทิฏฐิมี 300 ประการ(โดยประมาณ)
ถาม: เครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ตอบ: โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิ
[123] ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

เชิงอรรถ :
1 ฐาน ในที่นี้หมายถึงเหตุ (ขุ.ป.อ. 1/112/47)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :188 }