เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
5. ญาณในอัตถปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
6. ญาณในธัมมปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
7. ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
8. ญาณในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
9. ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
10. ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธญาณ
11. ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
12. ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ชื่อว่าพุทธญาณ
13. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
14. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
พุทธญาณ 14 ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ 14 ประการนี้ ญาณ 8
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก 6 ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคต
ทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้ทรงทราบไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ เพราะสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ เพราะ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่ง
ปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่งปัญญาที่
แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะ
แห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระตถาคตทรงทราบ
แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมด
ด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :186 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณ
ในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในมหากรุณาสมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว
ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วย
พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่
มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ1

สัพพัญญุตญาณนิทเทสที่ 72-73 จบ
ญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม. (แปล) 29/156/431, ขุ.จู. (แปล) 30/85/305

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :187 }