เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ธัมมปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีใน
นิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะรู้
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในมหากรุณา-
สมาบัติตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[121] สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ
คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระพุทธญาณ 14 ประการ ได้แก่
1. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ
2. ญาณในสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ
3. ญาณในทุกขนิโรธ ชื่อว่าพุทธญาณ
4. ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าพุทธญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :185 }