เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
แสดงสัพพัญญุตญาณ
[119] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงไม่มี
อะไรเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[120] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งปวง ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรม
ส่วนอดีตทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้จักขุและรูปทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้โสตะและสัททะ ฯลฯ
เพราะรู้ฆานะและคันธะ ฯลฯ เพราะรู้ชิวหาและรส ฯลฯ เพราะรู้กายและโผฏฐัพพะ
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้มโนและธรรมารมณ์ทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็น
อนัตตาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งรูปตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งชราและมรณะตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นใน
ญาณนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :183 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่รู้ยิ่งแห่งอภิญญาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะที่กำหนดรู้แห่งปริญญาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ละแห่งปหานะ
ตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เจริญแห่งภาวนาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะ
ที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะตลอด
ทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้กุศลธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อกุศลธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อัพยากตธรรม ฯลฯ เพราะรู้กามาวจรธรรม ฯลฯ เพราะรู้รูปาวจรธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อรูปาวจรธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อปริยาปันนธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ
เพราะรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นความดับแห่ง
นิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรคตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่ง
อัตถปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :184 }