เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 69. อาสยานุสยญาณนิทเทส

1. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ)
2. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ)
3. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือมานะ)
4. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ)
5. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือวิจิกิจฉา)
6. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
7. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา)

กามราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องในปิยรูป (อารมณ์อันเป็นที่รัก)
สาตรูป (อารมณ์อันเป็นที่ยินดี) ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่อง
ในอัปปิยรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) อสาตรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่ยินดี) ในโลก
อวิชชาตกไปในสภาวธรรม 2 นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉาพึงเห็น
ว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพ
ที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว)
ที่เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์
ทั้งหลาย
[115] อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติทรามก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอธิมุตติทราม ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติ
ประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็คบหาสมาคม
เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :176 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 70. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
ก็คบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน แม้ในอนาคตกาล
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทราม
เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มี
อธิมุตติประณีตเหมือนกัน นี้ชื่อว่าอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย
อภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าอภัพพสัตว์
ภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาดี อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ชื่อว่าภัพพสัตว์
นี้เป็นญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต
อาสยานุสยญาณนิทเทสที่ 69 จบ

70. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
แสดงญาณในยมกปาฏิหาริย์
[116] ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก ได้แก่

ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า
ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :177 }