เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 69. อาสยานุสยญาณนิทเทส
อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต1
เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มีไม่
เกิดอีกก็มี หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้
อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง 2 นี้ ได้อนุโลมขันติ2 ในสภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือยถาภูตญาณ3
พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกาม
เป็นที่อาศัย น้อมไปในกาม” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติเนกขัมมะว่า “บุคคลนี้เป็น
ผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมไปในเนกขัมมะ” ทรงทราบบุคคล
ผู้ปฏิบัติซึ่งพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย
น้อมไปในพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้
หนักในอพยาบาท มีอพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในอพยาบาท” ทรงทราบ
บุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งถีนมิทธะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่
อาศัย น้อมไปในถีนมิทธะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอาโลกสัญญาว่า “บุคคลนี้
เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปในอาโลกสัญญา”
นี้เป็นฉันทะที่มานอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย
[114] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ อนุสัย 7 ได้แก่

เชิงอรรถ :
1 ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. 65/108)
2 อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.อ. 815/494)
3 ยถาภูตญาณ หมายถึงมัคคญาณ (อภิ.วิ.อ. 815/494)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :175 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 69. อาสยานุสยญาณนิทเทส

1. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ)
2. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ)
3. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือมานะ)
4. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ)
5. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือวิจิกิจฉา)
6. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
7. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา)

กามราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องในปิยรูป (อารมณ์อันเป็นที่รัก)
สาตรูป (อารมณ์อันเป็นที่ยินดี) ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่อง
ในอัปปิยรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) อสาตรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่ยินดี) ในโลก
อวิชชาตกไปในสภาวธรรม 2 นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉาพึงเห็น
ว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพ
ที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว)
ที่เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์
ทั้งหลาย
[115] อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติทรามก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอธิมุตติทราม ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติ
ประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็คบหาสมาคม
เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :176 }