เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 68. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติ
ตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มัก
ไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและ
โทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มี
ปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
[112] คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก (โลกคือขันธ์) ธาตุโลก (โลกคือธาตุ)
อายตนโลก(โลกคืออายตนะ) วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก
สัมปัตติสัมภวโลก1
โลก 1 คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก 2 คือ นาม 1 รูป 1
โลก 3 คือ เวทนา 3
โลก 4 คือ อาหาร 4
โลก 5 คือ อุปาทานขันธ์ 5

เชิงอรรถ :
1 วิปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพวิบัติได้แก่อบายโลก วิปัตติสัมภวโลก หมายถึงโลกคือสมภพวิบัติได้แก่
กรรมที่ให้เกิดในอบายโลก สัมปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพสมบัติได้แก่สุคติโลก สัมปัตติสัมภวโลก
หมายถึงโลกคือสมภพสมบัติได้แก่กรรมที่ให้เกิดในสุคติโลก (ขุ.ป.อ. 2/112/3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :173 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 69. อาสยานุสยญาณนิทเทส
โลก 6 คือ อายตนะภายใน 6
โลก 7 คือ วิญญาณัฏฐิติ 7
โลก 8 คือ โลกธรรม 8
โลก 9 คือ สัตตาวาส 9
โลก 10 คือ อายตนะ 10
โลก 12 คือ อายตนะ 12
โลก 18 คือ ธาตุ 181
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้
และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาใน
ศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งซึ่งอินทรีย์ 5 ประการนี้ ด้วยอาการ 50 อย่างนี้
นี้เป็นญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของพระ
ตถาคต
อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสที่ 68 จบ

69. อาสยานุสยญาณนิทเทส
แสดงอาสยานุสยญาณ
[113] ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็น
อย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติ2ของสัตว์
ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์(สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)และอภัพพสัตว์
(สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)

เชิงอรรถ :
1 ขุ.จู. (แปล) 30/104/355-356
2 อาสยะ หมายถึงทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่อง
ซึ่งยังละไม่ได้ จริต หมายถึงกุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง อธิมุตติ หมายถึงอัธยาศัยของ
เหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. 814/493-494)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :174 }