เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 64-67. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
เข้าไปพิจารณาธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณา
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภท
แห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความปรากฏแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความกระจ่างแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
รุ่งเรืองแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งนิรุตติ
ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการประกาศอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
ประกาศธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศนิรุตติ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ 64-67 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :171 }