เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 55. อาสวักขยญาณนิทเทส
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์” เธอเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตา
ทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และ
สภาวะเดียว ด้วยอำนาจแสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ
ทิพพจักขุญาณนิทเทสที่ 54 จบ

55. อาสวักขยญาณนิทเทส
แสดงอาสวักขยญาณ
[107] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ 3 ประการ โดยอาการ 64
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ เป็นอย่างไร
คือ อินทรีย์ 3 ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
1. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเรา
จักรู้สัจธรรมที่ยังไม่รู้)
2. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง)
3. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ 1 คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ 6 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ 1 คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :165 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 55. อาสวักขยญาณนิทเทส
มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์
ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์
ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลัง
เป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ 8 ประการ
นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่
อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามี-
ตินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร
มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ 8 ประการนี้ซึ่งมี
สหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกัน
เป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :166 }