เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 51. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
51. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงโสตธาตุวิสุทธิญาณ
[103] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท 4 ประการนี้แล้ว ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ไกลบ้าง
ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ใกล้บ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียง
ทั้งหลายหยาบบ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดบ้าง ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดอย่างยิ่ง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศบูรพา ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศปัจฉิม ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอุดร ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้ง
ทางทิศทักษิณ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอาคเนย์ ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศพายัพ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศอีสาน ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศหรดี ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศเบื้องต่ำ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศเบื้องบน เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำ
จิตไปเพื่อโสตธาตุวิสุทธิญาณ ได้ยินเสียง 2 ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ
และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ

โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทสที่ 51 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :161 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 52. เจโตปริยญาณนิทเทส
52. เจโตปริยญาณนิทเทส
แสดงเจโตปริยญาณ
[104] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะ
เดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต 3
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท 4 ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมรู้ว่า “รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์
รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเปกขินทรีย์” เธอมีจิตอบรมแล้ว
อย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้
ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือจิตมีราคะก็รู้ว่า “จิตมีราคะ” หรือจิต
ปราศจากราคะก็รู้ว่า “จิตปราศจากราคะ” จิตมีโทสะก็รู้ว่า “จิตมีโทสะ” หรือจิต
ปราศจากโทสะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโทสะ” จิตมีโมหะก็รู้ว่า “จิตมีโมหะ” หรือจิต
ปราศจากโมหะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโมหะ” จิตหดหู่ก็รู้ว่า “จิตหดหู่” หรือจิตฟุ้งซ่าน
ก็รู้ว่า “จิตฟุ้งซ่าน” จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่า “จิตเป็นมหัคคตะ” หรือจิตไม่เป็น
มหัคคตะก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นมหัคคตะ” จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า”
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า” จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตเป็น
สมาธิ” หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นสมาธิ” จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตหลุดพ้น”
หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตไม่หลุดพ้น” จิตน้อมไปก็รู้ว่า “จิตน้อมไป” หรือจิตไม่
น้อมไปก็รู้ว่า “จิตไม่น้อมไป”
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการ
แผ่ไปแห่งจิต 3 ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ
เจโตปริยญาณนิทเทสที่ 52 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :162 }