เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 44-49. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
[99] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในความ
สละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญา
ในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละวิจิกิจฉา
ด้วยธัมมววัตถาน เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่า
วิโมกขวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[100] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อกำหนดรู้สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อละสภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่
พัวพันแห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่า
สัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อทำให้แจ้งสภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็น
อสังขตะ สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้
จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อเจริญสภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่
แห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :158 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 44-49. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อคิด
ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้น
ย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญา-
วิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ

ฉวิวัฏฏญาณนิทเทสที่ 44-49 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :159 }