เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 44-49. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
[97] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละกิเลส
ทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในการ
อธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
[98] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “จักขุว่างจาก
อัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่
หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม
เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “โสตะว่าง ฯลฯ
ฆานะว่าง ฯลฯ ชิวหาว่าง ฯลฯ กายว่าง ฯลฯ มโนว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาใน
ธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :157 }