เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 44-49. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เพราะความสงบไปแห่งวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบไป แต่วิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบไป แต่สัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
อาสวะ1เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แต่เพราะยังไม่ได้บรรลุฐานะนั้น
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ
ปเทสวิหารญาณนิทเทสที่ 43 จบ

44-49. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
แสดงญาณในการหลีกออก 6 อย่าง
[95] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยสัญญา
(ความหมายรู้) เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีอพยาบาทเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอาโลกสัญญา
เป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรม

เชิงอรรถ :
1 อาสวะ ในที่นี้หมายถึงวิริยะ (ความเพียร) (ขุ.ป.อ. 1/94/349)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :155 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 44-49. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอวิกเขปะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออก
จากอุทธัจจะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า
สัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีธัมมววัตถานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉา
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีญาณเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากอวิชชาด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญา
ที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปามุชชะเป็นใหญ่
ย่อมหลีกออกจากอรติด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่
จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปฐมฌานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์
ด้วยสัญญา ฯลฯ ปัญญาที่มีอรหัตตมรรคเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญา-
วิวัฏฏญาณ
[96] ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงเนกขัมมะที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
พยาบาทเป็นสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :156 }