เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 40. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
อนัตตา 1 โดยสภาวะที่เป็นจริง 1 โดยสภาวะที่รู้แจ้ง 1 โดยสภาวะที่รู้ยิ่ง 1 โดย
สภาวะที่กำหนดรู้ 1 โดยสภาวะที่เป็นธรรม 1 โดยสภาวะที่เป็นธาตุ 1 โดย
สภาวะที่รู้ได้ 1 โดยสภาวะที่ทำให้แจ้ง 1 โดยสภาวะที่ถูกต้อง 1 โดยสภาวะที่
ตรัสรู้ 1 ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ 12
อย่างนี้
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ1 กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า การรู้แจ้ง อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้
รู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ รู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง รู้แจ้งมัคคสัจด้วย
การเจริญ
คำว่า ความหมดจดแห่งทัสสนะ อธิบายว่า ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ทัสสนะหมดจดแล้ว ในขณะแห่ง
สกทาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งสกทาคามิผล ทัสสนะหมดจดแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอนาคามิผล ทัสสนะ
หมดจดแล้ว ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอรหัตตผล
ทัสสนะหมดจดแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน
ในการรู้แจ้งสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ

ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทสที่ 40 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มข้อ 88 หน้า 148 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :152 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 42. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
41. ขันติญาณนิทเทส
แสดงขันติญาณ
[92] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ รูปที่รู้ชัดโดยความ
เป็นอนัตตา รูปใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว รูปนั้น ๆ พระโยคาวจรย่อมพอใจ
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
เวทนาที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง
ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตา
ชราและมรณะใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว ชราและมรณะนั้น ๆ พระโยคาวจร
ย่อมพอใจ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ
ขันติญาณนิทเทสที่ 41 จบ

42. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
แสดงปริโยคาหนญาณ
[93] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความไม่เที่ยง ถูกต้องรูปโดยความเป็นทุกข์
ถูกต้องรูปโดยความเป็นอนัตตา ถูกต้องรูปใด ๆ ก็หยั่งลงสู่รูปนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่ถูกต้องธรรม จึงชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
ปัญญาย่อมถูกต้องจักขุ ฯลฯ ปัญญาย่อมถูกต้องชราและมรณะโดยความ
ไม่เที่ยง ถูกต้องชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ถูกต้องชราและมรณะโดยความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :153 }