เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 40. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
คำว่า ประกาศ อธิบายว่า ปัญญาย่อมประกาศรูปโดยความไม่เที่ยง ประกาศ
รูปโดยความเป็นทุกข์ ประกาศรูปโดยความเป็นอนัตตา ประกาศเวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ประกาศชราและมรณะโดย
ความไม่เที่ยง ประกาศชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ประกาศชราและมรณะโดย
ความเป็นอนัตตา
คำว่า การเห็นชัดซึ่งอรรถ อธิบายว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเห็นชัด
ซึ่งอรรถแห่งเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอพยาบาท เมื่อละ
ถีนมิทธะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถ
แห่งอวิกเขปะ เมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธัมมววัตถาน เมื่อละอวิชชา
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งญาณ เมื่อละอรติย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปามุชชะ เมื่อละ
นิวรณ์ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเห็นชัดซึ่ง
อรรถแห่งอรหัตตมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
สันทัสสนญาณ
อัตถสันทัสสนญาณนิทเทสที่ 39 จบ

40. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงทัสสนวิสุทธิญาณ
[91] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้ง
สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ 5 ฯลฯ1 อปริยาปันนธรรม
คำว่า รวมเข้าเป็นหมวดเดียวกัน อธิบายว่า ธรรมทั้งปวงท่านรวมเข้าเป็น
หมวดเดียวกันโดยอาการ 12 คือ โดยสภาวะที่เป็นของแท้ 1 โดยสภาวะที่เป็น

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มข้อ 87 หน้า 146 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :151 }