เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละแห่ง
รูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วย
การละแห่งชรามรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ
ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
[8] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง ความดับเหตุเกิด
แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง ความดับฉันทราคะในทุกข์ควรรู้ยิ่ง คุณ1แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง
โทษ2แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... ความดับเหตุให้เกิดรูป ... ความดับ
ฉันทราคะในรูป ... คุณแห่งรูป ... โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ความดับเหตุให้
เกิดชราและมรณะ ... ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ ... คุณแห่งชราและมรณะ
... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่องสลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 คุณ (อัสสาทะ) หมายถึงสภาวะที่อร่อย หรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกามคุณ (องฺ.จตุกฺก.
อ. 2/10/288, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา 2/10/288)
2 โทษ (อาทีนวะ) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย หรือสภาวะที่ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งมีธรรมเป็นเหตุ (องฺ.จตุกฺก.
อ. 2/10/288, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา 2/10/288)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :15 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย ... ทุกขนิโรธ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่ง
ทุกข์ ... โทษแห่งทุกข์ ... เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... รูปนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งรูป ...
โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ชรามรณ-
นิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งชราและมรณะ ... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่อง
สลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง
[9] อนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) ควรรู้ยิ่ง ทุกขานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นทุกข์) ... อนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) ...
นิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) ... วิราคานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) ... นิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) ควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในรูป ... อนัตตานุปัสสนา
ในรูป ... นิพพิทานุปัสสนาในรูป ... วิราคานุปัสสนาในรูป ... นิโรธานุปัสสนาในรูป ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสัญญา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสังขาร ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในวิญญาณ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในจักขุ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :16 }