เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 38. วิริยารัมภญาณนิทเทส
ความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมทำเดชมิใช่คุณให้สิ้น
ไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมทำเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา
ย่อมทำเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมทำเดชคืออธรรมให้สิ้นไปด้วยเดช
คือธรรม
คำว่า ธรรมเครื่องขัดเกลา อธิบายว่า กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา
อพยาบาทเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญา
เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อวิกเขปะเป็นธรรม
เครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ธัมมววัตถานเป็นธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรติมิใช่
ธรรมเครื่องขัดเกลา ปามุชชะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา ปฐมฌานเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อรหัตตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะ
เดียว และเดช ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ
สัลเลขัฏฐญาณนิทเทสที่ 37 จบ

38. วิริยารัมภญาณนิทเทส
แสดงวิริยารัมภญาณ
[89] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันบาปอกุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่
และจิตที่ส่งไป เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาใน
การประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :149 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 39. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันกามฉันทะที่ยัง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิต
ที่ส่งไป เพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคอง
จิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยา-
รัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ฯลฯ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกิเลส
ทั้งปวงที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่
หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อละกิเลสทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ฯลฯ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำอรหัตตมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งอรหัตตมรรค
ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป
ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
วิริยารัมภญาณนิทเทสที่ 38 จบ

39. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
แสดงอัตถสันทัสสนญาณ
[90] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ
(ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมต่าง ๆ ได้แก่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :150 }