เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 37. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
37. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสัลเลขัฏฐญาณ
[88] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียว1 และเดช
ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า สภาวะแต่ละอย่าง อธิบายว่า ราคะ (ความกำหนัด) เป็นสภาวะ
อย่างหนึ่ง โทสะ (ความประทุษร้าย) เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โมหะ (ความหลง)
เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โกธะ (ความโกรธ) ฯลฯ อุปนาหะ (ความผูกโรธ) ฯลฯ มักขะ
(ความลบหลู่) ฯลฯ ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ฯลฯ อิสสา (ความริษยา) ฯลฯ มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) ฯลฯ มายา (มารยา) ฯลฯ สาเฐยยะ (ความโอ้อวด) ฯลฯ ถัมภะ
(ความหัวดื้อ) ฯลฯ สารัมภะ (ความแข่งดี) ฯลฯ มานะ (ความถือตัว) ฯลฯ อติมานะ
(ความดูหมิ่นท่าน) ฯลฯ มทะ (ความมัวเมา) ฯลฯ ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว พยาบาทชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทชื่อว่า
สภาวะเดียว ถีนมิทธะชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาชื่อว่าสภาวะเดียว อุทธัจจะ
ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะชื่อว่าสภาวะเดียว วิจิกิจฉาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ธัมมววัตถานชื่อว่าสภาวะเดียว อวิชชาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ญาณชื่อว่าสภาวะเดียว
อรติชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ปามุชชะชื่อว่าสภาวะเดียว นิวรณ์ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ปฐมฌานชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า เดช อธิบายว่า เดชมี 5 คือ (1) เดชคือศีลเครื่องดำเนินไป (2) เดชคือคุณ
(3) เดชคือปัญญา (4) เดชคือบุญ (5) เดชคือธรรม บุคคลผู้มีเดช ย่อมทำเดชคือ

เชิงอรรถ :
1 สภาวะต่าง ๆ หมายถึงสภาวะที่คงที่ไม่แปรผันไปต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับสภาวะเดียวที่คงที่ไม่แปรผันไป
(ขุ.ป.อ. 1/88/340)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :148 }