เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 35. ปรินิพพานญาณนิทเทส
35. ปรินิพพานญาณนิทเทส
แสดงปรินิพพานญาณ
[86] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ
ชื่อว่าปรินิพพานญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในศาสนานี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็นไป
แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ แห่ง
อวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ฯลฯ แห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ ฯลฯ แห่งนิวรณ์ให้
สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งชิวหา
ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความเป็นไปแห่งมโนนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่น
ย่อมไม่เกิดขึ้น ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
นี้ชื่อว่าปรินิพพานญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มี
สัมปชัญญะ ชื่อว่าปรินิพพานญาณ

ปรินิพพานญาณนิทเทสที่ 35 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :145 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 36. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
36. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสมสีสัฏฐญาณ
[87] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบ
และดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)1
เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจกุกกุจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉา
ขาดโดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาด
โดยชอบด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวง
ขาดโดยชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้
ด้วยอวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้
ด้วยปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน วิจิกิจฉา
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค กิเลส
ทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ

เชิงอรรถ :
1 คำแปลของแต่ละญาณมีปรากฏอยู่ในภาคอุทเทสหรือมาติกาหน้า 4 โดยทั่วไปจะไม่นำมาไว้ในภาคนิทเทสนี้
นอกจากคำแปลของญาณที่ท่านอธิบายไว้ด้วย จึงจะนำมา เช่น คำแปลของญาณนี้คือคำว่า สงบ และเป็น
ประธาน ท่านอธิบายไว้ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :146 }