เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
และเวทนาที่เป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมระงับไปด้วยการ
ระงับสังขาร 3 นี้
[84] คำว่า ด้วยญาณจริยา 16 อธิบายว่า ด้วยญาณจริยา 16 เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา
อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิราคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิวัฏฏนานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิมรรคชื่อว่า
ญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิมรรคชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตมรรคชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผล-
สมาบัติชื่อว่าญาณจริยา ด้วยญาณจริยา 16 นี้
[85] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 อธิบายว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ทุติยฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ตติยฌาน
ชื่อว่าสมาธิจริยา จตุตถฌานชื่อว่าสมาธิจริยา อากาสานัญจายนตสมาบัติ ฯลฯ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา ด้วยสมาธิจริยา 9 นี้
คำว่า วสี อธิบายว่า วสี 5 ประการ ได้แก่
1. อาวัชชนาวสี (ชำนาญในการคำนึงถึง)
2. สมาปัชชนวสี (ชำนาญในการเข้า)
3. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
4. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออก)
5. ปัจจเวกขณาวสี (ชำนาญในการพิจารณา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :143 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
สมาปัตติลาภีบุคคล (บุคคลผู้ได้สมาบัติ) คำนึงถึงปฐมฌาน ที่ไหนก็ได้ เมื่อไร
ก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสมาปัชชนวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อธิฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลออกจากปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัจจเวกขณาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ คำนึงถึงเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มี
ความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิฏฐาน ฯลฯ ออก ฯลฯ พิจารณา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตาม
ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจจเวกขณาวสี
วสี 5 ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร 3 ด้วย
ญาณจริยา 16 และด้วยสมาธิจริยา 9 เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 อย่าง
ชื่อว่านิโรธสมาปัตติญาณ
นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทสที่ 34 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :144 }