เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
และเวทนาที่เป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมระงับไปด้วยการ
ระงับสังขาร 3 นี้
[84] คำว่า ด้วยญาณจริยา 16 อธิบายว่า ด้วยญาณจริยา 16 เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา
อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิราคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิวัฏฏนานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิมรรคชื่อว่า
ญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิมรรคชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตมรรคชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผล-
สมาบัติชื่อว่าญาณจริยา ด้วยญาณจริยา 16 นี้
[85] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 อธิบายว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ทุติยฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ตติยฌาน
ชื่อว่าสมาธิจริยา จตุตถฌานชื่อว่าสมาธิจริยา อากาสานัญจายนตสมาบัติ ฯลฯ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา ด้วยสมาธิจริยา 9 นี้
คำว่า วสี อธิบายว่า วสี 5 ประการ ได้แก่
1. อาวัชชนาวสี (ชำนาญในการคำนึงถึง)
2. สมาปัชชนวสี (ชำนาญในการเข้า)
3. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
4. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออก)
5. ปัจจเวกขณาวสี (ชำนาญในการพิจารณา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :143 }